เรื่องที่เรียนรู้ สังเกตการสอนประจำชั้นเรียนมัธยมศึกษาปีที่1 และศึกษาวัฒนธรรมการทำงานขององค์กร ครั้งที่ 5
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1.เพื่อสังเกตการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนมัธยมศึกษาปีที่1
2.เพื่อเรียนรู้การทำงาน
รูปแบบต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1
สิ่งที่เรียนรู้
ช่วงเช้าได้มีโอกาสไปสังเกตการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 กิจกรรมแรกของวันก็คือกิจกรรม “จิตศึกษา”
เพื่อเริ่มต้นวันอย่างมีความหมาย
กิจกรรมจิตศึกษาสำหรับวันพุธก็จะเกี่ยวกับศิลปะและดนตรี
เพื่อเป็นการเริ่มต้นวันอย่างมีความหมาย มีความพร้อม มีสติ มีสมาธิ
พร้อมที่จะเรียนรู้สำหรับวันนี้
คาบแรกของวันเป็นของรายวิชาภาษาไทยสอนโดยคุณครูผักกาด โดยครูผักกาดให้เด็กแบ่งออกเป็นชาย-หญิง นั่งเป็น 2
แถว แล้วให้เด็กนักเรียนออกมาเล่นเกมปริศนาอักษรไขว้
ซึ่งก็จะบอกคำใบ้แล้วให้นักเรียนช่วยกันหาคำตอบ
ซึ่งสิ่งที่ผมงงและประทับใจมากในการนำเข้าสู่บทเรียนคือ ครูผักกาดจะทำคำตารางอักษรไขว้ผิด เพื่อให้เด็กรู้ว่าคำนั้นเขียนผิด
ซึ่งก็เป็นไปตามความคาดหมาย เด็กก็งง แล้วถามว่าครูครูผักกาดเขียนผิดหรือเปล่า
ทำไมมันเขียนแปลกๆ ซึ่งครูผักกาดก็ไม่ได้บอกอะไรกับเด็ก
ต่อมาครูผักกาดก็ให้พี่ๆ ม.1 นั่งเป็นวงกลม โดยนับ 1-3
เพื่อจับกลุ่มจากนั้น พี่ๆม.1ก็จะนั่งเป็นกลุ่ม
แล้วครูผักกาดก็ให้กระดาษบทความให้กลุ่มละหนึ่งแผ่น
ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันอ่านโดยไม่ได้บอกว่าต้องทำอะไร
ตอนแรกเด็กก็ตั้งใจอ่านแล้วก็มีเสียงจากเด็กทุกกลุ่มว่า
ครูผักกาดครับบทความพิมพ์ผิดเยอะมากครับ สักพักเขาก็เริ่มจับใจความได้ว่าครูต้องการจะสื่ออะไร
เด็กก็บอกว่าครูให้ดูคำผิด แล้วแก้ให้ถูก ผมยอมรับว่าเด็กที่นี่เก่งมากครูจะฝึกให้เด็กได้คิดตลอดเวลา โดยที่ครูไม่ต้องบอกอะไรมากมาย
จากนั้นครูผักกาดก็ได้ให้เด็กนักเรียนนั่งเป็นวงกลมแล้วร่วมกันแชร์ว่ากลุ่มที่ตนเองได้อ่านเกี่ยวกับเรื่องอะไร
รู้สึกอย่างไร โดยที่เด็กทุกคนจะรู้เรื่องที่เพื่อนเล่าและจะทำให้เด็กมีความรู้รอบตัวเยอะมากยิ่งขึ้น พอเด็กได้เล่าเรื่องที่อ่านของกลุ่มตัวเอง
ครูผักกาดก็จะให้ออกมาเขียนคำผิดให้เพื่อนดูว่า เขียนผิดอย่างไร และคำที่เขียนถูกเขียนอย่างไร
โดยที่เด็กทุกคนจะได้ร่วมกันแชร์ความรู้ พอครบทุกกลุ่มแล้วครูผักกาดก็ได้มอบหมายงานให้นักเรียนคือให้เลือกคำที่ผิดมาเขียนบนกระดาษหรือคำที่เขียนผิดในบทความของกลุ่มตัวเองมาทำนิทานการ์ตูนช่อง เพื่อสรุปองค์ความรู้
จากนั้นครูณี ก็ได้ให้ไปดูครูยุ้ยทำการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชาภาษาไทย ของพี่ๆชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง ประโยคคความซ้อน ซึ่งก็มีการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างจากการเรียนการสอนของครูผักกาด แต่จะมีลักษณะที่เหมือนกันคือ มีการ ชง เชื่อม ใช้ หลังจากที่ได้ดูครูยุ้ยทำการเรียนการสอนเสร็จ ครูณีก็ได้ให้มาร่วมกันทำ PLC ถึงการจัดการเรียนการสอนของครูผักกาดและครูยุ้ยร่วมกัน
การ PLC คือ การสร้างความเป็นชุมชนให้เกิดในองค์กร และมีการจัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้อย่างหลากหลายระหว่างกัน เป้าหมายสำคัญของการ PLC คือ การสร้างการเรียนรู้ของครูร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนได้ยกระดับความรู้ ความเข้าใจ ในสิ่งที่จะสอน มีทักษะการจัดการเรียนการสอนและมีจิตวิญญาณของความเป็นครูมากยิ่งขึ้น
ช่วงบ่ายเป็นกิจกรรม Body scan ครูกิ่งนำเรื่อง ชีวิตหลังแต่งงานของคนคู่หนึ่งมาเล่าให้เด็กๆฟัง หลังจากที่ได้พักผ่อนพี่ร่างกายแล้ว ครูกิ่งก็ได้ถามกับนักเรียนว่า รู็สึกอย่างไรกับเรื่องที่ได้ฟัง ขอความคิดเห็น จากนั้นก็ให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น หลังจากการทำกิจกรรม Body scan เสร็จแล้ว ได้ให้นักเรียนได้เคลียร์งานของตัวเองที่ยังค้างอยู่ เพราะสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอนของ Q3 และเตรียมซ้อมการแสดงในกิจกรรมการเปิดบ้านมัธยม ที่จะมาถึง
ช่วงเย็นหลังเลิกเรียนครูในระดับชั้นมัธยมศึกษา จะมีการประชุม หรือเรียกว่า AAR คือ การร่วมกันอภิปราย สรุปในแต่ละแง่มุมหลังการเสร็จสิ้นกิจกรรม เพื่อทำให้เกิดการใคร่ครวญ หรือการทบทวนต่อเรื่องนั้นๆ โดยครูแต่ละคนก็จะมาสะท้อนความรู้สึกของตนเอง พร้อมช่วยกันหาแนวคิดแนวทางแก้ไขในทุกๆเรื่องสำหรับการเรียนการสอนของพี่ๆชั้นมัธยมศึกษา
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้เรียนรู้ถึงการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นสาขาที่เรียนมาซึ่งมีประโยชน์ต่อตัวผมมากในอนาคต
2. ได้เรียนรู้ถึงการปฎิบัติตัวในการจัดทำการเรียนการสอนต้องปฎิบัติตัวอย่างไร
3. ได้รู้ถึงการทำ และเข้าใจขั้นตอนการทำจิตศึกษา และกิจกรรม Body scan มากขึ้น
4. ได้มีโอกาสเข้าร่วมการทำ PLC หลังการสอนและมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนของครูผักกาดและครูยุ้ย
5. ได้มีโอกาสเข้าร่วมการทำ AAR ครูในระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้เรียนรู้รูปแบบการทำงานมากขึ้น
การนำเข้าสู่บทเรียนโดยให้เด็กเล่นเกมปริศนาอักษรไขว้
ให้พี่ๆม.1 ช่วยกันอ่านบทความภายในกลุ่ม
พี่ม.1 ช่วยกันหาคำผิด แล้วแก้ไขให้ถูกต้อง
ผลงานนักเรียนการ์ตูนช่อง
การทำ AAR ของครูระดับชั้นมัธยมศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น