Week5

บันทึกการเรียนรู้
        วันจันทร์เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการสอนพี่ๆม.3 โดยการให้พี่ๆได้สรุปวรรณกรรมที่ได้อ่าน เรื่อง เพื่อนยาก หน้าที่ 31- 45 ในรูปแบบการเขียนบรรยาย ซึ่งพี่ๆสามารถ่ายทอดออกมาได้ดีมาก แต่ส่วนมากยังมีการเขียนคำผิด ซึ่งผมเองได้ให้แต่ละคนแก้ไขคำผิดเรียบร้อยแล้ว โดยมีกฎอยู่ว่าใครเขียนผิดหนึ่งคำ จะคัดคำที่ถูกลงในสมุด 10 ครั้ง เพื่อให้การเขียนผิดน้อยลง
        วันอังคารได้มีโอกาสสังเกตครูน้ำผึ้งทำกิจกรรมจิตศึกษา โยคะ ซึ่งวันนี้มีความยากหรืออุปสรรคเพิ่มเข้ามา โดยการให้พี่ๆม.2 เก็บใบไม้คนละ 1 ใบ แล้วนำมาวางไว้ที่มือ โดยทำกิจกรรมแล้วห้ามใบไม้หล่นจากมือ เพิ่มความท้าทายทำให้กิจกรรมนั้นดูน่าสนใจมากขึ้น หลังจากนั้นได้ไปสอนวิชาภาษาไทยพี่ๆม3 ต่อ วันนี้ให้พี่ๆม.3เลือกประโยคที่ตนเองชอบจากวรรณกรรมเรื่องเพื่อนยาก หน้าที่ 31- 45 มาคนละหนึ่งประโยคพร้อมบอกเหตุผล จากนั้นให้พี่ๆสังเกตต่ออีกว่าประโยคของตัวเองมีองค์ประกอบใดบ้าง ? พี่ๆม.3 ก็ตอบว่าเป็นประโยคคำถาม ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธบ้างล่ะ ซึ่งยังไม่ต้องกับที่เราได้เตรียมไว้เกี่ยวกับหลักภาษา นั้นคือ ประโยคความรวม และประโคความซ้อน จากนั้นจึงให้พี่ๆนับ1- 4 แบ่งกลุ่มแล้วจึงให้โจทย์พี่ๆต่ออีกว่า ประโยคหมายถึงอะไร ?มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ? โดยการให้พี่ๆสืบค้นข้อมูลพร้อมนำเสนอในรูปแบบต่างๆในวันพรุ่งนี้  และในช่วงเย็นครูณีได้ให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เขียนคำถามที่สงสัยและอยากรู้เกี่ยวกับการประเมิน การให้คะแนน ซึ่งครูณีจะมาให้คำตอบในวันศุกร์
        วันพุธได้ประสบการณ์หลายๆอย่างได้มีโอากสคิดกิจกรรมการเรียนการสอนเองวันพุธเป็นวันที่เหนื่อยที่สุดและก็เป็นวันที่สนุกที่สุด เพราะได้สอนวิชาภาษาไทยทั้งสามห้อง สำหรับม.2คาบแรก วันนี้พี่ๆสนุกกับการนำเสนอภาษาอีสานวันละคำ พี่ๆได้ฝึกพูดอีสานและบอกวิธีการนำไปใช้ ซึ่งพี่ๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี คาบสองพี่ๆม3 ได้เห็นวิธีการแก้ไขปัญหาของพี่ๆในการนำเสนอ ข้อมูลเรื่อง ประโยค หลังจากที่ครูให้โจทย์พี่ๆไปสืบค้นข้อมูลและนำมานำเสนอให้น่าสนใจ ซึ่งบางกลุ่มเตรียมตัวมาดี แต่ยังมีบางกลุ่มมีปัญหา ทำให้เห็นวิธีการแก้ไขปัญหาของพี่ๆม3ได้ชัดเจน ตอ่ไปคือคาบที่สามพี่ๆม1 วันนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมหลังจากที่ได้ให้ไปอ่านเป็นการบ้านและครูแอมได้นำคลิปตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง เดอะดาวน์เป็นคนธรรมดามันง่ายไป มาให้พี่ๆได้รับชม พี่ๆให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และเข้าใจความหมายของดาวน์จากชื่อตอนที่อ่านชัดเจนยิ่งขึ้น หลังจากนั้นตอนบ่ายได้ลงแปลงผักครั้งที่ 2 เพราะจากการปลูกในครั้งแรกมันไม่เกิด ทำให้พี่ๆม2ร่วมกันคิดแก้ไขปัญหาและวางแผนในการปลูกใหม่ และเวลา 16.15 น.มีการประชุม PLC ครูระดับชั้นมัธยม วันนี้เป็นการประชุมพูดคุยหลายเรื่องด้วยกัน ทั้งเรื่องแจ้งเพื่อทราบสำหรับการเตรียมตัวและกิจกรรมที่ใกล้จะมาถึง รวมถึงการแชร์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของแต่ละวิชาและแต่ละระดับชั้น เพื่อมองให้เห็นถึงปัญหาเพื่อพร้อมที่จะนำมาแก้ไขต่อไป
          วันพฤหัสบดีเริ่มต้นด้วยคาบแรกให้พี่ๆม.2 แนะนำตัว ชื่อจริง สกุล พี่ๆบางคนยังออกเสียงควบกล้ำได้ไม่ชัดเจน จากนั้นก็ได้ถามพี่ๆว่า "ชื่อของตนเองหมายถึงอะไร"พี่ๆก็สามารถให้ความหมายของชื่อตนเองได้แต่ยังมีบางคนทียังไม่ทราบความหมายของชื่อตนเอง จากนั้นก็มีการทบทวนภาษาต่างประเทศในภาษาไทย และให้โจทย์พี่ๆต่ออีกว่า "ชื่อจริงของพี่ๆเป็นคำมาจากภาษาอะไร?"พี่ๆก็ตั้งใจสืบค้นข้อมูล บางคนเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียนมาแล้ววิเคราะห์ว่าชื่อของตนเองตรงกับคุณสมบัติคำที่มาจากภาษาต่างประเทศอย่างไร และจะนำเสนอให้วันพรุ่งนี้ ต่อมาคาบสองพี่ม.1 วันนี้ครูแอมให้พี่ๆดูรูปเด็กดาวน์ซินโดรมซึ่งแต่ละคนจะได้รูปที่ไม่เหมือนกัน และใ้คำถามกระตุ้นการคิดว่า "พี่ๆรู้สึกอย่างไร?" แล้วพี่ๆสังเกตเห็นอะไรจากรูป? และให้โจทย์ต่ออีกว่า พี่ๆจะสามารถเขียนสื่อสารออกมาผ่านตัวหนังสือ ให้ครูเข้าใจว่าภาพแต่ละภาพของพี่ๆเป็นอย่างไรได้อย่างไร ? พี่ๆแต่ละคนก็เขียนสื่อสารออกมาได้ดี แต่บางคนยังมีปัญหาให้การเขียนสื่อสาร มีการเขียนผิดบ้าง แต่ก็เห็นถึงความพยายามของพี่ๆแต่ละคน และให้วันพรุ่งนี้จะนพเสนองานเขียนของพี่ๆแต่ละคน สำหรับในช่วงบ่ายครูน้ำผึ้งไปประชุมฝากให้ผมดูแลพี่ๆม.2 ตั้งแต่กิจกรรม Body scan จนถึงพิธีชา ทำให้วันนี้ผมรู้สึกว่าตัวเองมีพัฒนาการขึ้นเยอะกว่าทุกครั้ง ได้ฝึการคุมเด็ก สามารถเก็บเด็กได้ เป็นสิ่งที่ท้าทายแต่ล้วนเต็มไปด้วประสบการณ์
       วันศุกร์เป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์แต่ไม่ใช่วันสุดท้ายของการเรียนรู้ เริ่มต้นด้วยคาบแรกภาษาไทยม.2 วันนี้ได้นำตัวอย่างภาพยนตร์ที่พากษ์ภาษาอีสานไปให้พี่ๆได้รับชมและถามคำศัพท์ภาษาอีสานจากเรื่องที่ชม พี่ๆหลายคนสามารถพูดภาษาอีสานได้ดีขึ้น หลังจากนั้นนำบทความ "ภาษาไทยในการเปลี่ยนผ่าน" ให้พี่ๆม.2ได้อ่านและร่วมกันวิเคราะห์ และสรุปความเข้าใจในรูปแบบละครสั้น พี่ๆทุกกลุ่มสามารถถ่ายทอดออกมากได้เป็นอย่างดี เห็นถึงความตั้งใจและความพยายาม รวมถึงการกล้าแสดงออกของพี่ๆทุกคน และในช่วงเย็นมีกิจกรรมผู้ปกครองอาสา วันนี้คุณแม่ของพี่ปุณได้นำวิทยากรมาสร้างแรงบันดาลใจให้กับพี่ๆม.2 ซึ่งได้ข้อคิดและสิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับตัวเองมากขึ้น "ขอบคุณโอกาสดีๆ ขอบคุณเวลาดีๆ ขอบคุณประสบการณ์ดีๆ ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา"



แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ภาษาไทย

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ Quarter 1 ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

Week
Input
Process
Output
Outcome

๑๓ ๑๗
มิ..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : หนังสือลูกอีสาน ตอน บ่าวสาวเกี้ยวกัน
หลักภาษา  :  
คำไทยแท้ และคำจากภาษาต่างประเทศ
Key Questions :
ถ้านักเรียนเป็นคูนจะบอกความจริงกับพ่อหรือไม่
- นักเรียนคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะอนุรักษ์ภาษาไทยไม่ให้เลือนหายไปตามกาลเวลา?
เครื่องมือคิด :
- Show and Share 
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
หนังสือลูกอีสาน
- บทความ


วันพุธ
ชง  :  นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบการ์ตูนช่อง
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน

วันพฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า ถ้านักเรียนเป็นคูนจะบอกความจริงกับพ่อหรือไม่ เพราะอะไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ให้นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม อ่านบทความและวิเคราะห์คำ ว่าคำไหนเป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศบ้าง และสามารถนำมาจัดหมวดหมู่ได้อย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มจำแนกคำไทยแท้และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ พร้อมนำเสนอในรูปแบบชาร์ตข้อมูล
วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จะนำคำในภาษาไทยทั้งคำไทยแท้และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ในรูปแบบละครสั้น ได้อย่างไร?”
ใช้: นักเรียนร่วมกันสร้างสรรค์บทละครสั้น เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องคำไทยแท้ และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอละครสั้น และร่วมอภิปรายร่วมกัน
ภาระงาน
- การอ่านหนังสือลูกอีสาน ตอน บ่าวสาวเกี้ยวกัน
- การพูดและเขียนเพื่อบอก
ความรู้สึกของตนเองต่อตัวละครที่ชอบในหนังสือลูกอีสาน ตอน บ่าวสาวเกี้ยวกัน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร  แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจในรูปแบบการ์ตูนช่อง
- การอ่านบทความ
- การจัดหมวดหมู่คำไทยแท้ กับคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
- การนำเสนอผ่านรูปแบบชาร์ตข้อมูล
- การคิดบทละครสั้นและซ้อมการแสดง
- การนำเสนอ
ชิ้นงาน
- สรุปความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบการ์ตูนช่อง
- ชาร์ตข้อมูลการจัดหมวดหมู่คำ
- บทละครสั้น /แสดงละครสั้น

ความรู้ :  เข้าใจถึงการประพฤติตนของคนอีสาน การเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวอีสาน และ สามารถอธิบาย แยกคำที่มาจากภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทยได้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานและบทละคร
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นจากบทความ รวมทั้งสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก

บันทึกหลังการเรียนรู้
         สัปดาห์ที่ 5 พี่ๆ ม.2 ได้นำเสนอบทความภาษาไทยในอนาคต ซึ่งพี่ๆสามารถเขียนถ่ายทอดออกมาได้ดี โดยส่วนใหญ่มองว่าภาษาไทยในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง มีภาษาอื่นเข้ามาใช้ปะปนกับภาษาไทยของเรามากมาย แต่สุดท้ายแล้วภาษาไทยยังไงก็ไม่มีวันหายไปจากประเทศไทยอย่างแน่นอน เพราะเป็นภาษาประจำชาติ หลังจากที่นำเสนอบทความเสร็จ พี่ๆได้อ่านวรรณกรรมเรื่อง ลูกอีสาน ตอน บ่าวสาวเกี้ยวกัน และผลัดกันเล่าเรื่องรอบวงจนจบเพื่อเป็นการทบทวนเรื่องราววรรณกรรมที่อ่าน และสรุปความเข้าใจจากวรรณกรรมที่อ่านในรูปแบบ การ์ตูนช่องแรงเงา พร้อมนำเสนอ 
          จากนั้นครูแอมให้นักเรียนแนะนำตัวชื่อจริงและนามสกุล ฟังการออกเสียงคำควบกล้ำ ซึ่งพี่ๆส่วนใหญ่ยังออกเสียงคำควบกล้ำไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ และใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่ออีกว่า พี่ๆคิดว่าชื่อของตนเองหมายถึงอะไร ?” บางคนตอบได้แต่บางคนยังต้องหาความหมายเพิ่มเติม และครูแอมให้พี่ๆทบทวนหลักภาษาเรื่อง คำบาลี  คำสันสกฤต คำเขมร คำภาษาอังกฤษ และให้โจทย์เพื่อทบทวนอีกว่า ชื่อของตนเองมาจากภาษาอะไร ?” และนำเสนอร่วมกัน พี่ๆส่วนใหญ่สามารถแยกแยะระหว่างคำที่มาจากภาษาอื่นๆได้ และสามารถวิเคราะห์ว่าชื่อของตนเองเป็นคำที่มาจากภาษาอะไร หลังจากนั้นครูแอมมีบทความภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน และร่วมกันวิเคราะห์บทความ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยและการใช้ภาษาต่างประเทศ หลังจากนั้นครูให้โจทย์พี่ๆสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับหลักภาษาเรื่อง คำไทยแท้ และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศในรูปแบบละครสั้น ซึ่งพี่ๆทุกกลุ่มสามารถทำได้เป็นอย่างดี ถ่ายทอดผ่านการแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจได้เป็นอย่างดี มีปฏิภาณไหวพริบ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ร่วมถึงการกล้าแสดงออก



ประมวลภาพกิจกรรม

การทำดูแลแปลงผัก PBL คู่ขนาน พี่ม.2

การทดลองดองสัตว์ PBL หลักพี่ม.2 

กิจกรรมผู้ปกครองอาสา

การเขียนบรรยายของพี่ๆม.1

การชมคลิปตัวอย่างภาพยนตร์ พากย์อีสาน

พิธีชาในวันพฤหัสบดีของทุกสัปดาห์

สังเกตการจัดการเรียนการสอนครูณี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

การสรุปองค์ความรู้เรื่องคำไทยแท้และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศในรูปแบบการแสดงละคร


ตัวอย่างชิ้นงาน

ม.2
  
 



ม.1

 
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น