Week8

             
"ความงอกงาม"


             วันจันทร์ เป็นวันที่ตื่นตัวกับสิ่งต่างๆที่จะเข้ามา ตื่นเต้นในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ตื่นพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ตื่นรับสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต วันนี้เป็นวันที่ผมรู้สึกว่าการที่ตัวเองได้ถ่ายทอดความรู้สึกหรือประสบการณ์ของตัวเองให้ผู้อื่นได้รับฟังเพื่อเกิดประโยชน์ มันรู้สึกดีและรู้สึกภูมิใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น ประสบการณที่เราเคยได้ผ่านพบมาได้ถ่ายทอดผ่านวาจาเพื่อให้ผู้อื่นได้เห็นถึงกระบวนการต่างๆ ทำให้ผู็รับฟังได้เห็นแง่คิด เกิดปัญญา สามารถนำสิ่งนั้นๆไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (ร่วมแชร์ประสบการณ์นักศึกษาฝึกสอนโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา : คณะครูพี่เลี้ยง โปรแกรมการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา)


             วันอังคาร วันที่ตัวเองรู้สึกว่าตัวเองมีการเตรียมตัว เตรียมพร้อม เตรียมที่จะมอบสิ่งดีๆให้กับนักเรียนทุกคน วันนี้กิจกรรมการเรียนรู้ของพี่ๆม.3 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาจจะตึงๆในช่วงเเรก เพราะวันนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับพี่ๆม.3 เรื่องการส่งงาน โดยการส่งงานให้พี่ๆเป็นคนเลือกหรือกำหนดเวลาส่งเอง แต่พูดคำไหนต้องคำนั้น เพราะครูเชื่อว่าพี่ๆวางแผนและรับผิดชอบตัวเองได้ รวมถึงเรื่องการช่วยเหลือเพื่อน ความสามัคคีในหมู่คณะ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ หลังจากที่คุยเสร็จก็ดำเนินกิจกรรมต่อ วันนี้พี่ๆได้เรียนรู้ผ่านรูปภาพ ภาพหนึ่งภาพสามารถถ่ายทอดออกมาได้หลายความคิด ได้เห็นถึงทักษะการคิดของพี่ๆแต่ละคนผ่านการแสดงความคิดเห็น ซึ่งถือว่ากิจกรรมการเรียนรู้ในวันนี้ประสบความสำเร็จเพราะได้เห็นสิ่งต่างๆจากพี่ๆรวมถึงการรู้จักพี่ๆแต่ละคนมากขึ้นผ่านการแสดงความคิดเห็น(การแสดงความคิดเห็นเพียงหนึ่งความคิดเห็นก็สามารถทราบได้ว่าคนคนนั้นคิดอะไรอยู่ มีมุมมองในการใช้ชีวิตเช่นไร)


           วันพุธ เป็นวันที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับพี่ๆมัธยมทั้งสามห้อง ได้ฝึกตัวเองเกี่ยวกับการบริหารเวลา การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของแต่ละชั้นซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป แต่ผมก็สามารถผ่านจุดนั้นมาได้ มันเป็นความภาคภูมิใจเล็กๆน้อยๆที่มีความหมายสำหรับนักศึกษาฝึกสอนอย่างผมมาก เป็นสัปดาห์ที่สองแล้วที่ผมทำกิจกรรม Body scan วันแรกรู้สึกตื่นเต้นมากแต่ต้องทำให้กิจกรรมออกมาดีที่สุด นี่เป็นสัปดหา์ที่สองแล้วที่ผมได้มีโอกาสทำกิจกรรม Body scan ผมรู็สึกว่าตัวเองมีพัฒนาการที่ดีมาก จากการพูดติดๆขัดๆในครั้งแรก แต่พอได้ทำทุกวันๆกลับรู้สึกสนุกและมีความสุขที่ได้ลงมือทำ สนุกกับการหาเรื่องราวมาเล่าให้พี่ๆฟัง สนุกกับการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด


          วันพฤหัสบดีรู้สึกว่าตัวเองงอกงามในเรื่องมนุษยสัมพันธ์กับนักเรียนากขึ้น จากที่ผมเป็นครูประจำชั้นมัธยม วันนี้ผมได้เป็นครูเวรรับผิดชอบในตอนเย็น ผมมีโอกาสได้ไปพบปะพูดคุยกับเด็กชั้นประถมศึกษา ทำให้เห็นนักเรียนอีกมิติหนึ่ง ทำให้ตัวเองเรียนรู้เรื่องการวางตัวมากขึ้น รวมถึงความใจเย็น ความอ่อนโยน เพราะเด็กประถมต้องใจเย็นต่างจากมัธยมเรื่องจิตวิทยาในการพูดหรือการสื่อสาร ทำให้ตัวเองรู้จักการจัดการกับตัวเองมากขึ้น "ลูกศิษย์หลานคนแต่เราในฐานะครูต้องรู้จักเด็กและเข้าใจเด็กทุกคน ไม่เลือกปฏิบัติหรือรักทีชังมักที่ชอบ จึงจะเหมาะสมกับกับคำว่าครูอย่างแท้จริง"


           วันศุกร์วันนี้รู้สึกตื่นเต้นพร้อมกับความกดดันกองใหญ่วันนี้เป็นวันที่ครูน้ำผึ้งไม่อยู่ ครูน้ำผึ้งจึงมอบให้ผมทำหน้าที่ครูประจำชั้นดูแลพี่ๆม.2 ตอนเช้ารู้สึกกดดันกลัวว่าเราจะทำได้ไม่ดี ทุกวันจะได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย แต่วันนี้ต้องทำหน้าที่ครูประจำชั้นทุกอย่าง แต่ผมก็สามารถผ่านจุดนั้นมาได้ ผ่านมาด้วยความภาคภูมิใจ ผ่านมาพร้อมประสบการณ์ที่ดีที่หาซื้อขายที่ไหนไม่ได้ ถึงวันนี้ผมจะยังทำหน้าที่ครูประจำชั้นยังไม่ดีพอเท่าครูท่านอื่นๆแต่ผมพร้อมที่จะพัฒนา "ถึงแม้วันนี้ยังทำได้ไม่ดีพอ แต่ผมที่จะพัฒนาและสานต่ออยู่ทุกเมื่อ"



แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ภาษาไทย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ Quarter 1 ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจถึงการทำอะไรไม่คิด ไม่รู้จักระงับสติ อารมณ์ ด่วนตัดสินใจแล้วต้องมาเสียใจภายหลัง และสามารถอธิบาย จำแนก คำซ้ำ สามารถนำคำซ้ำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
Week
Input
Process
Output
Outcome

..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : หนังสือลูกอีสาน ตอน ไปไล่จอนฟอน
หลักภาษา  :  
-คำสมาส สนธิ
-เขียนแต่งเรื่อง/เขียนแต่งประโยค
Key Questions :
- ลุงเมฆใช้สันพร้าตีหัวไอตูบแล้วเกิดอะไรขึ้น?
-คำสมาส และคำสนธิ มีความเหมือนและความแตกต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Show and Share 
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
- Flow Chart
การสรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตภาพและชาร์ตข้อมูล
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
หนังสือลูกอีสาน
- เกม ช่องว่างระหว่างคำ



วันพุธ
ชง  :  นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบแผ่นพับการ์ตูนช่อง
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน

วันพฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าลุงเมฆใช้สันพร้าตีหัวไอตูบแล้วเกิดอะไรตามขึ้น?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : จับฉลากแบ่งกลุ่ม ครูให้นักเรียนเล่นเกม ช่องว่างระหว่างคำ
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ จำแนก คำสมาส และสนธิ พร้อมนำเสนอ
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคำสมาสและคำสนธิและสรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตข้อมูล
-นำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
ใช้ : นักเรียนทำใบงาน
วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า คำสมาส และคำสนธิ มีความเหมือนและความแตกต่างกันอย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนสร้างสรรค์ชิ้นงาน สรุปความเข้าใจเรื่องคำสมาส และคำสนธิในรูปแบบนิทานเล่มเล็ก
-นำเสนอผลงานและอภิปรายร่วมกัน
ภาระงาน
- การอ่านหนังสือลูกอีสาน ตอน ไปไล่จอนฟอน
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละครที่ชอบในหนังสือลูกอีสาน ตอน ไปไล่จอนฟอน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร  แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่อง
- การเล่นเกม ช่องว่างระหว่างคำ
- นักเรียนจำแนกคำสมาสและคำสนธิ
- นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคำสมาสและคำสนธิสรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตข้อมูล
- อภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนทำใบงาน
- สร้างสรรค์ชิ้นงานสรุปความเข้าใจในรูปแบบนิทานเล่มเล็ก
- นำเสนอชิ้นงาน
ชิ้นงาน
- แผนภาพโครงเรื่อง
- ชาร์ตข้อมูล
- ใบงาน
- นิทานเล่มเล็ก


ความรู้ :  เข้าใจถึงการทำอะไรไม่คิด ไม่รู้จักระงับสติ อารมณ์ ด่วนตัดสินใจแล้วต้องมาเสียใจภายหลัง และสามารถอธิบาย จำแนก คำซ้ำ สามารถนำคำซ้ำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก

บันทึกหลังการเรียนรู้

สัปดาห์ที่ 8 พี่ๆ ม.2 ได้อ่านใคร่ครวญวรรณกรรม เรื่อง ลูกอีสาน ตอน ไปไล่จอนฟอน ครูได้ตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ลุงเมฆใช้สันพร้าตีหัวไอตูบแล้วพี่ๆรู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากเรื่อง พี่นัท สงสารไอตูบ เพราะความใจร้อนให้อารมณ์ตันสินแท้ๆ” ,พี่ติ การเอาตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ยอมรับข้อผิดพลาดของตนเอง”,พี่ไอดิน รู้สึกว่าไม่มีเหตุผลที่ลุงเมฆต้องฆ่าไอตูบคนเรามีการผิดพลาดกันได้ ไม่ควรใช้อารมณ์ตัดสินเพราะจะทำให้เรามาเสียใจทีหลังจากนั้นพี่ๆม.2ได้สรุปความเข้าใจผ่านรูปแบบแผ่นพับการ์ตูนช่องพร้อมนำเสนอผลงานร่วมกัน กิจกรรมเกมลูกพี่ลูกน้อง ครูให้พี่ๆยืนเป็นวงกลมหันหลังเข้าวงกลมจากนั้นครูน้ำบัตรคำไปใส่มือให้พี่ๆ แล้วให้ไปตามหากลุ่มของตนเอง จากนั้นมาวิเคราะห์จำแนกบัตรคำของแต่ละกลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่ 1 ได้ลูกพี่คือคำว่าชนมีลูกน้องอีก 7 คน เมื่อวิเคราะห์จำแนกบัตรคำเสร็จทำให้ทราบว่ากลุ่มที่ 1 มีลูกน้องมาผิดกลุ่ม 2 คน และกลุ่มที่ 2 มีลูกพี่คือคำว่าเชื่อมมีลูกน้อง 7 คน เมื่อวิเคราะห์จำแนกบัตรคำเสร็จทำให้ทราบว่ากลุ่มที่ 2 มีลูกน้องมาผิดกลุ่ม 2 คน เช่นเดียวกับกลุ่มที่ 1 จากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดพี่ๆเห็นอะไรจากกิจกรรมเกมลูกพี่ลูกน้อง?” พี่ปุณ คำเชื่อมและคำชนที่มีการรวมคำหรือผสมคำที่แตกต่างกัน ครูถามต่ออีกว่า คำที่เรียกว่าคำเชื่อมและคำชงคือคำอะไร? พี่เพลง สมาส สนธิ จากนั้นครูให้พี่ๆม.2ได้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคำสมาส สนธิ พร้อมสรุปลงในสมุด หลังจากที่ได้สืบค้นข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดคำสมาส สนธิ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?” พี่บีท สิ่งที่เหมือนกันคือ คำสมาสและคำสนธิเป็นการสมาสเหมือนกันเพียงแต่คำสนธิเป็นการสมาสแบบสนธิ และต้องเกิดจากการนำคำจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น จากนั้นครูให้พี่ๆนำเสนอข้อมูลที่แต่ละคนได้ไปสืบค้นมา และทบทวนความเข้าใจจากใบงานที่ครูเตรียมไว้ให้ และครูให้โจทย์พี่ๆม.2ต่อว่า ให้พี่ๆแต่งนิทานเล่มเล็ก 1 เล่ม ทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้อ่านเข้าใจคำสมาสและคำสนธิมากที่สุดหลังจากอ่านนิทานเล่มเล็กเล่มนั้นพร้อมนำเสนอร่วมกัน

ประมวลภาพกิจกรรม









ตัวอย่างชิ้นงาน
      
   

     

     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น