วันจันทร์วันแรกของสัปดาห์สุดท้ายของ Quarter 1 ผมได้เรียนรู้สำหรับการปิด Quarter 1 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผมต้องสรุปแผนการสอน สรูปคะแนนเก็บของนักเรียน ยอมรับว่าตื่นเต้นและงงงวกับการสรุป Quarter 1 มาก แต่ผมก็ใช้การสังเกต ความกระตือรือร้นของครูประจำชั้น(ครูน้ำผึ้ง) มันจึงทำให้เราเป็นคนที่ขยันไปในอัตโนมัติ ผมเชื่อแล้วกับคำที่ว่า "อยู่กับใครเราก็จะเป็นแบบเช่นคนนั้น" และสำหรับการเตรียมตัวสรุป Quarter 1 นั้นผมประทับใจมากในคณะครูระดับชั้นมัธยม เพราะครูมัธยมมีการคุยวางแผนกันว่า ช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ เราเสียสละเวลาส่วนตัวมารวมตัวกันเตรียมตัวสรุปQuarter 1 กันดีไหม? ซึ่งครูทุกคนก็เห็นด้วยและต่างก็ช่วยกันสรุป บ้างก็ให้คำปรึกษาช่วยในสิ่งที่ต้องปรับปรุง เป็นภาพที่ผมประทับใจไม่มีลืม มันจึงทำให้ผมเข้าใจกับคำว่า "การเป็นครูนั้นมันยาก แต่การเป็นครูที่ดีนั้นยากยิ่งกว่า"
วันอังคาร วันแห่งการเรียนรู้ในการทำคะแนน ผมเรียนรู็จากครูน้ำผึ้งบ้าง ปรึกษาครูณีบ้าง ครูภรบ้าง ทำให้ผมมีความเข้าใจและสามารถทำคะแนนเก็บของนักเรียนได้ ถึงแม้ว่ามันจะเข้าใจยากสักหน่อย อาจเป็นเพราะมันเป็นสิ่งใหม่สำหรับผม แต่ผมพร้อมที่เรียนรู้ในทุกๆการเรียนรู้ มันทำให้ผมคิดถึงคำที่อาจารย์สิริลักณ์บอกผมเสมอว่า "ทุกการเรียนรู้ยอมมีความเจ็บปวด ไม่มีการเรียนรู้ใด เรียนรู้จากสิ่งที่ได้มาง่ายๆและไม่ได้ทำอะไรเลย "
วันพุธ ได้มีโอกาสเวียนทำกิจกรรมจิตศึกษาของครูระดับมัธยม เป็นครั้งแรกที่ได้ทำจิตศึกษาอย่างเต็มตัว รู้สึกตื่นเต้นมากเพราะนี้เป็นครั้งแรกที่เต็มรูปแบบ หลังจากที่ไปสรา้งการเรียนรู้ที่ปากช่อง ผมได้ฝึกซ้อมและเตรียมตัวมาอย่างดี สำหรับกิจกรรมในวันนี้ ผลที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจเด็กๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี สามารถเก็บเด็กได้ ได้เห็นแง่คิดในมุมของเด็กๆแต่ละคน รวมถึงเด็กมีสติ สมาธิรู้ตัว ดังเป้าหมายของกิจกรรมจิตศึกษา ผมว่าครั้งแรกผมก็สามารถเรียนรู้และผ่านไปได้อย่างภาคภูมิใจและเชื่อว่ามันจะต้องดีขึ้นเรื่อยๆ
วันพฤหัสบดี เป็นวันแรกที่ผมได้ฝึกทำกิจกรรม Body scan อย่างเต็มรูปแบบ หลังจากที่ไปสรา้งการเรียนรู็ที่ปากช่อง นับว่าเป็นการทำ Body scan ที่รู้สึกใหม่ ทำให้ครูมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี รู้ถึงจุดเป้าหมายของการทำกิจกรรมจริงๆ นับว่าเป็นสิ่งที่ดีและควรส่งเสริมให้ดียิ่งๆขึ้นไป
วันศุกร์ วันสุดท้ายของ Quarter 1 เป็นวันแห่งการทบทวนสรุปองค์ความรู้ที่เรียนมา เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆเพื่อให้คนอื่นเข้าใจ แก่นแท้ของการเรียนรู้คือการถ่ายทอด
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา
ภาษาไทย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ Quarter 1 ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถถ่ายทอดทัศคติและมุมมองต่างๆต่อเรื่องราวที่ได้อ่านจากวรรณกรรม
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๑๑
๒๕ – ๒๙
ก.ค.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง :
-หนังสือเรื่อง
ลูกอีสาน
-เพลง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
-เพลง อีสานบ้านเฮา
หลักภาษา
:
-การเขียนสรุปองค์ความรู้
- ถ่ายทอดแก่นแท้ของวรรณกรรมและหลักภาษาKey
Questions :
- นักเรียนคิดว่าวรรณกรรมเรื่องนี้ผู้แต่งต้องการสื่อเรื่องอะไร
- นักเรียนคิดว่าเราสามารถถ่ายอดสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ด้วยได้อย่างไรเครื่องมือคิด :
Round Robin :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอและถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้
Show and Share : รูปแบบการจัดนิทรรศการกาลและการสรุปองค์ความรู้สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- หนังสือเรื่อง
ลูกอีสาน
-
เพลง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
-
เพลง อีสานบ้านเฮา
|
วันพุธ
ชง
: นักเรียนร่วมอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะรูปลักษณ์ของตัวละครและท่าทางที่แสดงออก
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า
การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่
เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสะท้อนมุมมองต่อเรื่องราวในรูปแบบการตั้งคำถาม
และตอบคำถามนั้น โดยใช้ทัศนคติของนักเรียนในการวิเคราะห์
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนตั้งคำถาม และตอบคำถามจากวรรณกรรมคนละ ๑๐
คำถาม โดยใช้ทัศนคติของนักเรียนในการวิเคราะห์
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าวรรณกรรมเรื่องนี้ผู้แต่งต้องการสื่อเรื่องอะไร?”
|
ภาระงาน :
วิเคราะห์เหตุการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม
- วางแผนรูปแบบการนำเสนอ
สิ่งที่ได้เรียนรู้
- นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
ในรูปแบบที่วางแผน
- สรุปการเรียนรู้หลังเรียน
ในรูปแบบ Mind Mapping
ชิ้นงาน :
-
Mind Mapping สรุปการเรียนรู้หลังเรียน
|
ความรู้ : เข้าใจและสามารถถ่ายทอดทัศนคติและมุมมองต่างๆต่อเรื่องราวที่ได้อ่านจากวรรณกรรม
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
-
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ
กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่
เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ
กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก
|
บันทึกหลังการเรียนรู้
สัปดาห์ที่ ๑๑
พี่ๆ ม.๒ ได้ร่วมกันทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดที่ผ่านมาและสรุปองค์ความรู้รายวิชาภาษาไทย
Q.1 ในรูปแบบต่างๆที่ตนเองสนใจ ( Mind Mapping , Floe Chart ฯลฯ) แต่การสรุปงานในครั้งนี้
คุณครูให้พี่ๆม.๒ จับคู่ศึกษาและสรุปองค์ความรู้ร่วมกัน
เพื่อให้พี่ๆได้รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
เป็นการทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
พี่ๆสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกันได้เป็นอย่างดีและสามารถส่งชิ้นงานได้ตรงตามเวลาที่กำหนด
ตัวอย่างชิ้นงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น