Week3

บันทึกการเรียนรู้

            ในสัปดาห์ที่ 3 นี้ มีหลายๆสิ่งหลายๆอย่างที่ลงตัว เริ่มรู้สึกปรับได้มาก จนบางครั้งรู้สึกว่าตัวเองเป็นครูคนหนึ่งของโรงเรียนนี้ไปเสียแล้ว เริ่มมีความผูกพันทั้งกับครู นักเรียน โรงเรียนหรือแม้กระทั้งผู้ปกครองเอง ในวันเสาร์ที่ 4 และวันอาทิตย์ที่ 5 ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมบ้านนักเรียนร่วมกับคณะครูระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้เห็นหลายๆอย่างเกี่ยวกับตัวเด็กนักเรียนมากยิ่งขึ้น บางคน อยู่ที่บ้านมีพฤติกรรมอีกอย่างแต่เมื่อมาโรงเรียนมีพฤติกรรมอีกอย่าง ได้มองเห็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน รวมถึงกิจกรรมต่างๆให้เด็กมากยิ่งขึ้น โดยผ่านการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง ได้เห็นแนวคิดของตัวผู้ปกครองเองว่าต้องการให้ลูกเป็นอย่างไร มีสิ่งใดที่เป็นห่วงในตัวนักเรียนอยู่ เพื่อทางโรงเรียนและผู้ปกครองจะร่วมช่วยกันกำจัดปัญหานั้นและสร้างสิ่งที่งอกงามให้แก่ตัวเด็กเอง
           ได้เรียนรู้เกี่ยวกับจิตศึกษามากยิ่งขึ้น ได้เห็นกระบวนการ ได้มีโอกาสไปสังเกตการจัดกิจกรรมจิตศึกษาของแต่ละระดับชั้น ทำให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมจิตศึกษา ได้เห็นความสำคัญของกิจกรรมจิตศึกษา และที่สำคัญผมได้มีโอกาสจัดกิจกรรมจิตศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในวันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2559 นับว่าเป็นครั้งแรกของการจัดกิจกรรมจิตศึกษา รู้สึกตื่นเต้น มีอาการเกร็งครูภรและครูน้ำผึ้ง ที่ให้กำลังใจอยู่ห่างๆ ในวันนั้นผมได้จัดกิจกรรม ลองมาเป็นฉันบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ซึ่งผมมองเห็นว่า นักเรียนจะได้มองเห็นในแง่มุมต่างๆของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น และฝึกให้เด็กเป้นคนเห็นคุณค่าของผู้อื่น เห็นความเป็นเพื่อนมนุษย์ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะเด็กๆนักเรียนอาจไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลย อาจจะเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มองข้ามด้วยซ้ำ
           ได้มีโอกาสไปสังเกตการจัดการเรียนการสอนของครูภรและครูแป้ง ซึ่งสิ่งที่ได้จากการสังเกตครูทั้งสองเหมือนกันคือ ครูภรและครูแป้งจะมีวิธีการเก็บเด็ก เด้กในห้องเรียนจะเงียบและตั้งใจฟังในการจัดการเรียนการสอนในคาบนั้นๆ รวมไปถึงการนำเข้าสู่การอ่านวรรณกรรม จะมีทักษะการอ่าน ออกเสียง การอ่านเป็นรายบุคคล อ่านเป็นกลุ่ม ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะสามารถทดสอบทักษะการอ่านของเด็กได้อีกด้วย ซึ่งเป็นวิธีที่ดี ผมจะนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนของผมในครั้งต่อไป
ในวันพูธระดบชั้นมัธยมศึกษาได้มีกิจกรรมBig Cleaning Day กิจกรรมนี้เห็นถึงความร่วมมือของพี่ๆนักเรียนและเห็นถึงความสามัคคี การเสียสละ เป็นภาพที่ประทับใจมากครับ
"เริ่มต้นจากการไม่รู้ แต่ผมพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา"



แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ภาษาไทย

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ Quarter 1 ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจภูมิปัญญาของคนอีสานซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นอีสาน และอธิบายคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน

Week
Input
Process
Output
Outcome

๓๐ พ.. ๓ มิ..
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง : หนังสือลูกอีสาน ตอน ทำปลาร้าหลักภาษา  :  
คำจากภาษาต่างประเทศ(ภาษาบาลี สันสกฤต เขมร)
Key Questions :
- การทำปลาร้าทำได้อย่างไร
- ทำไมจึงต้องมีการยืมคำจากภาษต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย?
- นักเรียนคิดว่า ชื่อของตนเองมาจากภาษาใด?
เครื่องมือคิด :
- Show and Share 
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
- Mind Mapping
สรุปความเข้าใจเรื่องที่ศึกษา
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
หนังสือลูกอีสาน
- ใบงาน

วันพุธ
ชง  :  นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนแต่งตอนจบจากที่ได้อ่านหนังสือลูกอีสาน ตอน ทำปลาร้า ใหม่
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า ทำไมจึงต้องมีการยืมคำจากภาษต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
-จับฉลากแบ่งกลุ่ม เพื่อสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ(คำบาลี สันสกฤต ภาษาเขมร)พร้อมสรุปในรูปแบบต่างๆตามความสนใจ(ชาร์ตความรู้,Mind mapping, ฯลฯ)
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า ชื่อของตนเองมาจากภาษาใด?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมกันวิเคราะห์ชื่อของตนเอง พร้อมบอกเหตุผลประกอบ
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนทำใบงาน
วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะสามารถแบ่งหมวดหมู่คำศัพท์ที่มาจากภาษาต่างประเทศ (บาลี สันสกฤต เขมร) จากวรรณกรรมเรื่องลูกอีสาน ตอนที่อ่านผ่านมาแล้วทั้งหมดได้อย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- จับฉลากแบ่งกลุ่มศึกษาคำที่มาจากภาษาต่างประเทศจากวรรณกรรม เรื่อง ลูกอีสาน จากตอนที่อ่านที่ผ่านมาร่วมกัน และนำเสนอในรูปแบบ Mind Mapping
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ Mind Mapping ที่ศึกษา
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย เพื่อสร้างความเข้าใจอีกครั้ง
ภาระงาน
- การอ่านเรื่องลูกอีสาน ตอน ทำปลาร้า
- การพูดเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละคร เหตุการณ์ที่ชอบในเรื่องลูกอีสาน ตอน ทำปลาร้า
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การแต่งตอนจบใหม่
- การสืบค้นข้อมูลคำที่มาจาก
ภาษาต่างประเทศและนำเสนอในรูปแบบต่างๆ
- นำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
- การวิเคราะห์ชื่อจริงของตนเอง
- การทำใบงาน
- ศึกษาและจัดหมวดหมู่คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ(บาลี สันสกฤต เขมร) จากวรรณกรรมเรื่องลูกอีสานที่อ่านผ่านมาแล้วทั้งหมดในรูปแบบ Mind Mapping
- นำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
ชิ้นงาน
- แต่งตอนจบใหม่
- สรุปความเข้าใจเรื่องคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ(บาลี สันสกฤต เขมร)ที่สืบค้นในรูปแบบต่างๆ
- วิเคราะห์ชื่อตนเอง
- ใบงาน
- Mind mappingจัดหมวดหมู่คำ


ความรู้ :  เข้าใจภูมิปัญญาของคนอีสานซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นอีสาน และอธิบายคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก

บันทึกหลังการเรียนรู้

สัปดาห์นี้พี่ๆ ม.๒ และคุณครูได้ร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยคือ ในวันพุธคาบแรกของสัปดาห์ พี่ๆ ม.๒ ได้ใคร่ครวญอยู่กับการอ่านวรรณกรรม เรื่อง ลูกอีสาน ตอน หาอาหารหน้าแล้ง โดยในตอนแรกครูให้พี่ๆ ม.๒ อ่านออกเสียงพร้อมกันทุกคน แล้วหยุดทบทวนเกี่ยวกับเนื้อหาที่กล่าวมาสักครู่ จากนั้นครูให้พี่ๆ ม.๒ อ่านเป็นรายบุคคล เพื่อจะได้สังเกตการณ์อ่านของพี่ๆแต่ละคน ว่าใครมีทักษะการอ่านอย่างไรบ้าง พี่มิ้วกับพี่บอลอ่านหนังสือยังไม่คล่อง”,“พี่มายด์มักอ่านเพิ่มคำหลังจากที่อ่านเป็นรายบุคคลเสร็จแล้วครูให้พี่ๆอ่านต่อในใจ ใครที่อ่านเสร็จแล้วครูให้สรุปเรื่องย่อจากเรื่องที่อ่าน และแต่งตอนจบใหม่
ในวันพฤหัสบดี ครูให้พี่ๆได้นำเสนอผลงานการเขียนย่อเรื่องและการแต่งตอนจบใหม่ของตนเอง ทบทวนสิ่งที่ได้อ่านจากวรรณกรรม จากนั้นก็ให้พี่ๆม.๒ ได้เล่นเกม คิดคำไทยแท้ เพื่อทบทวนเรื่องคำไทยแท้ที่เรียนจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนจะขึ้นเรื่องคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ (ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร) ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิดว่า ทำไมจึงต้องมีการยืมคำจากภาษต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย? จากนั้นครูได้ให้พี่ๆจับฉลากแบ่งกลุ่มเพื่อสืบค้นข้อมูลเรื่องคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ (ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร) บันทึกลงในสมุด หลักจากที่สืบค้นข้อมูลเสร็จ ครูให้พี่ๆแต่ละคนนำเสนอสิ่งที่ตนเองได้ไปสืบค้น และร่วมแชร์สิ่งที่แต่ละคนได้ไปสืบค้น ส่วนใหญ่เริ่มเข้าใจเรื่องคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ (ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร) มากยิ่งขึ้น

ในวันศุกร์ครูจึงทบทวนและให้พี่ๆแต่ละคนร่วมแชร์สิ่งที่ตนเองสืบค้นข้อมูลและการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องคุณสมบัติ ลักษณะของคำที่เป็นภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ว่าเป็นอย่างไร เด็กๆก็สามารถบอกคุณสมบัติ ลักษณะของภาษาดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง หลักจากนั้นครูจึงมีใบงานเรื่องคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ (ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร) เพื่อทดสอบความเข้าใจของพี่ๆแต่ละคนว่าเข้าใจมากน้อยเพียงใด โดยใบงานให้พี่ๆจัดหมวดหมู่ของคำที่เป็นภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งดูเหมือนพี่ๆส่วนใหญ่จะเข้าใจเรื่องคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ (ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร) เป็นอย่างดี สามารถจัดหมวดหมู่ได้ตรงหลักภาษา แต่ยังมีประมาณ 10 % ที่ยังสับสนอยู่บ้าง เรื่องเวลาการทำงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่ยังมีปัญหาเรื่องคำที่มักเขียนผิด แต่ครูก็ได้ให้คำแนะนำและปรับแก้ก่อนที่จะส่งชิ้นงานเรียบร้อยแล้ว


แผนการจัดกิจกรรมจิตศึกษา
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ Quarter 1 ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

Week
รูปแบบกิจกรรม
เป้าหมาย
กิจกรรม
สื่อ / อุปกรณ์

๑ มิ.. ๒๕๕๙

ศิลปะ ดนตรี
มีสติอยู่กับตัวเอง ใคร่ครวญเชื่อมโยงตนเองกับสิ่งอื่น เข้าใจ และเห็นใจเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก หากฉีกคำว่า คน ออกจากคำว่า พิการ แล้วนั้น คนทุกคนก็มีความเป็นมนุษย์และมีความฝันเหมือนกันทุกคน  รวมถึงให้นักเรียนถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้
ชื่อกิจกรรม : ลองมาเป็นฉันบ้าง
ขั้นเตรียม : Moniter ให้สัญญาณทักทาย เคารพซึ่งกันและกัน
ครู : เตรียมความพร้อมด้วยการให้นักเรียนหลับตาลงเบาๆ อย่างมีสติ อยู่กับตัวเอง รู้ลมหายใจของตัวเอง หายใจลึกๆ หายใจออกช้าๆ ฟังเสียงธรรมชาติ
ขั้นกิจกรรม :
- ครูให้นักเรียนใช้ผ้าที่ครูเตรียมไว้ปิดตาตัวเอง
 - ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด นักเรียนรู้สึกอย่างไร?”
- นักเรียนคิดว่า ถ้านักเรียนเป็นแบบนี้ตลอดชีวิตนักเรียนจะรู้สึกอย่างไร?
- ครูแจกกระดาษให้นักเรียนแต่ละคน
- ครูให้นักเรียนเขียนชื่อตัวเองลงไปบนกระดาษของตนเอง
- ครูให้นักเรียนวาดภาพบ้าน,วาดท้องฟ้า,วาดแม่น้ำ,วาดตัวเอง ฯลฯ
- นักเรียนเปิดผ้าปิดตาออก
- ชื้นชมนำเสนอผลงานของตนเอง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนว่า การที่เราปิดตา มองไม่เห็นสิ่งต่างๆ นักเรียนคิดว่ามีปัญหาในการดำเนินชีวิตหรือไม่?
ขั้นจบ :
-ครูพูดให้ Empower ชื่นชมความตั้งใจของนักเรียนทุกคน
-Moniter ให้สัญญาณ ครูและนักเรียนกล่าวขอบคุณซึ่งกันและกัน
- ผ้าปิดตา
- กระดาษ














































































บันทึกหลังการเรียนรู้
พี่ๆ ม.2 ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และตรงเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ต้องการให้พี่ๆเห็นคุณค่าของเพื่อนมนุษย์ เข้าใจบุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นมากยิ่งขึ้น และเห็นถึงความตั้งใจจริงของพี่ๆม.2 มีความเป็นจิตอาสาอยู่ในตัวทุกคน แต่ต้องปรับปรุงเรื่องการตั้งคำถามกระตุ้นการคิด และจังหวะในการทำกิจกรรม ก่อนเข้ากิจกรรมควรจะมีเรื่องราว เล่าเกริ่นนำเสียก่อน ครูน้ำผึ้งให้ไปลองตั้งคำถามบ่อยๆ แต่ภาพรวมๆถือว่าพอใช่ได้ แต่ต้องปรับปรุงสิ่งที่ครูน้ำผึ็งแนะนำมาเพื่อกิจกรรมจิตศึกษา

ประมวลภาพกิจกรรม
การอ่านวรรณกรรม เรื่อง ลูกอีสาน ตอน หาอาหารหน้าแล้ง

พี่ๆม.2 สืบค้นข้อมูลเรื่อง คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ(บาลี สันสกฤต เขมร)

พี่ๆทำใบงานทบทวนความรู้เรื่อง คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ


ตัวอย่างชิ้นงาน

  

  


กิจกรรม PBL คู่ขนาน
 

กิจกรรมสัมพันธ์พี่น้องมัธยม

 

กิจกรรมชุมนุม อาหารเพื่อสุขภาพ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น