หลักจากที่กลับมา ครูทุกท่านต่างก็เตรียมตัวสรุป Quarter 1 เป็นครั้งแรกที่ผมต้องเรียนรู้ผ่านการลองผิดลองถูก เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ผมอยมรับว่าผมไม่รู้แต่ตัวผมเองพร้อมที่จะเรียนรู้และนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ชีวิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ไม่มีสิ่งไหนได้มาง่ายๆเลย ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่ล้ำค่าในชีวิต
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา
ภาษาไทย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ Quarter 1 ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจถึงวีถีความเป็นอยู่ของชาวอีสาน
สามารถอธิบาย จำแนก เปรียบเทียบระหว่างคำซ้ำและคำซ้อน สามารถนำคำซ้ำและคำซ้อนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๑๐
๑๘ – ๒๒
ก.ค.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : เพลง
อีสานบ้านเฮา
หลักภาษา
:
-ทบทวนหลักการสร้างคำผ่านบทเพลง
Key Questions :
-เพลงอีสานบ้านเฮาต้องการถ่ายทอดความหมายเกี่ยวกับอะไร?
-ทำไมถึงมีการสร้างคำขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลา?
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
การนำเสนอชิ้นงาน
เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง
การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
- Flow Chart
การสรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตภาพและชาร์ตข้อมูล
- Round Rubin
การสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่ได้ศึกษา
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- เพลง
อีสานบ้านเฮา
|
วันพุธ
ชง : นักเรียนฟังเพลง อีสานบ้านเฮา
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ :
นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ :
นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า
การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่
เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่ฟังในรูปแบบชาร์ตรูปภาพ
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเพลงอีสานบ้านเฮาต้องการถ่ายทอดความหมายเกี่ยวกับอะไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
เชื่อม : ครูและนักเรียนทบทวนหลักการสร้างคำในภาษาไทย
พร้อมสรุปความเข้าใจในรูปแบบ Round Rubin
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูให้นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม
วางแผนสร้างสรรค์ชิ้นงานรูปความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสร้างคำในภาษาไทยผ่านบทเพลง
(ที่มีกลิ่นไอของความเป็นอีสานประกอบ)
วันศุกร์
ใช้ : นักเรียนนำเสนอผ่านบทเพลง
-นำเสนอผลงานและอภิปรายร่วมกัน
|
ภาระงาน
- การฟังเพลง อีสานบ้านเฮา
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกต่อเพลงอีสานบ้านเฮา
- การพูดอธิบาย แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเรื่องที่ฟัง
- การสรุปเรื่องจากที่ได้ฟังในรูปแบบชาร์ตรูปภาพ
- การทบทวนความรู้เดิม
- จับฉลากแบ่งกลุ่มเพื่อวางแผนสร้างสรรค์ชิ้นงานผ่านเพลงพร้อมนำเสนอ
- การนำเสนอชิ้นงาน
ชิ้นงาน
-
ชาร์ตภาพ
- Round Rubin
- แต่งเพลง
|
ความรู้ : เข้าใจถึงวีถีความเป็นอยู่ของชาวอีสาน
สามารถอธิบาย จำแนก เปรียบเทียบระหว่างคำซ้ำและคำซ้อน สามารถนำคำซ้ำและคำซ้อนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
-
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
-
การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ
กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่
เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ
กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก
|
บันทึกหลังการเรียนรู้
สัปดาห์ที่
10 พี่ๆ ม.2 ได้ทบทวนหลักภาษาที่เรียนมาตั้งแต่สัปดาห์ที่
1 จนถึงสัปดาห์ที่ 10
ครูและนักเรียนพูคุยเกี่ยวกับหลักภาษาแต่ละหลักภาษา เช่น คำไทยแท้
คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ คำมูล คำประสม คำสมาส คำสนธิ คำแผลง เป็นต้น
นักเรียนต่างก็ร่วมแชร์สิ่งที่ตนเองเข้าใจในหลักภาษานั้นๆ
เพื่อเป็นการทบทวนและการได้อธิบายให้เพื่อนๆที่ยังไม่เข้าใจแจ่มชัดได้ทบทวนอีกครั้ง
จากนั้นครูจับฉลากแบ่งกลุ่มพร้อมให้โจทย์พี่ๆม.2 “ให้พี่ๆม.2ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักภาษาที่เรียนผ่านมาแล้ว
1 หลักภาษาผ่านบทเพลง”
นักเรียนแต่ละกลุ่มสามารถถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับหลักภาษาออกมาได้เป็นอย่างดี
จากนั้นครูและนักเรียนทบทวนวรรณกรรมที่เรียนผ่านมา นั้นคือ วรรณกรรมเรื่องลูกอีสาน
ทบทวนเกี่ยวกับตัวละคร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
แต่ละคนประทับใจประเด็นไหนหรือฉากไหนมากที่สุด พร้อมบอกเหตุผล พี่เพลง“ประทับใจฉากกินไข่หมกทราย
เพราะเห็นถึงวัฒนธรรมการเป็นอยู่ของคนอีสาน” พี่ปังปอนด์”ประทับใจฉากพ่อและคูณไปไล่จอนฟอน เห็นอะไรหลายๆอย่างจากเห็นการณ์นี้”
พี่ปุณ”ประทับใจฉากหมู่บ้านเริ่มร้าง
เห็นถึงความรักบ้านเกิดของพ่อของคูณ
ถึงแม้จะแห้งแล้งขนาดไหนแต่เขาก็ไม่ยอมย้ายบ้านเพราะเขารักในบ้านเกิดของตนเอง”
จากนั้นครูให้พีๆม.2
ได้ทบทวนวรรณกรรมผ่านการชมภาพยนตร์เรื่องลูกอีสาน และร่วมแชร์
แลกเปลี่ยนจากสิ่งที่ได้ชม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น