Week7

           วันจันทร์ อาจารย์ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้เดินทางมานิเทศก์ครั้งแรก รู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะอาจารย์มาดูการจัดการเรียนการสอนของเรา ทำให้รู้สึกกดดัน แต่ผมก็สามารถทำมันออกมาได้ดีเต็มที่แล้ว ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาบ้างเล็กน้อย ขอบคุณความร่วมมือของพี่ๆม.3 ที่ต้งใจเรียนและร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี การนิเทศก์ครั้งนีอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเรื่องการทำวิจัย การทำโครงการ รวมถึงการจัดการเรียนการสอนให้มีความมั่นใจในการพูดและการทำกิจกรรมมากกว่านี้ ขอบคุณที่อาจารย์มาเยี่ยมเยือน ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ ผมจะนำคำแนะนำดีๆไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
          วันอังคารวันนี้เป็นวันที่เกือบจะดี เพราะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของพี่ๆชั้นม.3 วันนี้เรียนเร่องคำที่มักเขียนผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่เสี่ยงอยู่สำหรับครูใหม่อย่างเรา ถ้าหากไม่แม่นเรื่องคำพออาจจะเกิดการผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่เลยก็ว่าได้ แต่สำหรับกิจกรรมวันนี้ดำเนินกิจกรรมไปได้ด้วยความเรียบร้อย จนเกือบจะหมดคาบอยู่แล้วดันมีเด็กคนหนึ่งถามว่า คำว่าทายาด เขียนสะกดด้วย ด หรือ ท ซึ่งครูประจำชั้นก็ช่วยดูคำให้ ซึ่งเดิมแล้วผมได้ค้นหาคำว่าทายาด ที่เป็น ด ซึ่งไม่ได้แปลว่า ทายาทสืบสกุล มันคนละความหมายกัน ซึ่งครูก็ช่วยให้กิจกรรมนั้นผ่านไปได้ด้วยดี แต่สิ่งที่ติดตามผมไปในวันนี้เกือบทั้งวันคือการรู้สึกผิดในข้อผิดพลาดของตนเอง และหลายๆอย่างสำหรับวันนี้ "ผมเริ่มจากการไม่รู้แต่ผมพร้อมที่จะเรียนรู้"
         วันพุธเป็นวันที่ผมได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งสามห้อง คือ ชั้นม. 1-3 นับว่าเป็นวันที่ท้าทายผมวันหนึ่ง ซึ่งผมก็สามารถผ่านจุดนั้นมาได้ บ้างอาจจะพบปัญหาระหว่างการทำกิจกรรม เพราะฝนตกหนักทั้งวัน ทำให้ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ แต่ผมก็สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้และสามารถดำเนินกิจกรรมต่อจนสำเร็จ นักเรียนส่วนใหญ่ก็สนุกและได้รับความรู้ประสบการณ์จากกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งเพียงแค่นี้ผมก็หายเหนื่อยและมีกำลังใจที่จะคิดกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา "ขอบคุณปัญหาที่ทำให้ผมเข้มแข็งขึ้น"
        วันพฤหัสบดี วันนี้เป็นวันที่ผมรู็สึกดีมากๆได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับพี่ ม.1-2 และผลตอบรับจากพี่ๆทั้งสองห้องออกมาเป็นอย่างที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก พี่ๆสนุกสนานกับกิจกรรมการเรียนรู้และได้ความรู้เกี่ยวกับหลักภาษา รวมถึงเข้าใจถึงแก่นแท้ของวรรณกรรมแต่ละตอน ทำให้วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่ผมรู้สึกภูมิใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวันนี้มาก ถึงแม้จะมีปัญหาบ้างเล็กน้อย แต่ผมก็สามารถข้ามปัญหานั้นมาได้อย่างภาคภูมิใจ "ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีปัญหา อยู่ที่ว่าเราจะเรียนรู้และข้ามปัญหานั้นได้อย่างไร"
        วันศุกร์วันแห่งความท้าทายที่สุดเท่าที่ตัวผมเองเคยได้รับระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คือวันที่ผมกำลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทยให้กับพี่ๆม.1 ทันใดนั้น แขกที่มาอบรมก็เข้าไปสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผมกำลังดำเนินกิจกรรมอยู่ มองไปรอบกายไ่ม่มีครูเหมี่ยว ไม่มีครูภร มองไปทางใดก็มีแต่แขกที่มาอบรมเต็มไปหมด ผมจึงรวบรวมความกล้าดำเนินกิจกรรมต่อ ถึงแม้ว่าในใจจะตื่นเต้นมากเพราะเป็นครั้งแรกที่ขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้วมีแขกผู้เข้าอบรมมาสังเกตเยอะขนาดนี้ ในที่สุดผมก็สามารถข้ามสถานการณ์นั้นมาได้ และภาคภูมิใจในตัวเองสำหรับเหตุการณ์ในวันนี้เป็นอย่างมาก ที่สามารถก้าวผ่านมันมาได้ และต้องขอขอบคุณพี่ๆม.1ที่ให้ความร่วมมือระหว่างการทำกิจกรรมการเรียนรู้เป็นอย่างดี ทั้งๆที่ทุกวันยังต้องมีการเตือนสติกันอยู่เป็นระยะ "ขอบคุณความกล้าที่ทำให้ผมโตขึ้น"





แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ภาษาไทย

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ Quarter 1 ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

Week
Input
Process
Output
Outcome

๒๗ มิ..
-๑ ก..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : หนังสือลูกอีสาน ตอน เกวียนหัก
หลักภาษา  :  
-คำซ้ำ คำซ้อน
-เขียนแต่งเรื่อง/เขียนแต่งประโยค
-การเขียนเรียงความ
Key Questions :
- นักเรียนคิดอย่างไรกับคำว่า  “สีไฟกันเถอะ
- คำซ้ำและคำซ้อน เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Show and Share 
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
- Flow Chart
การสรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตภาพและชาร์ตข้อมูล
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
หนังสือลูกอีสาน
- สี
- ถุงผ้าบรรจุกลุ่มคำ



วันพุธ
ชง  :  นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบภาพสเกต
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน

วันพฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดอย่างไรกับคำว่า  “สีไฟกันเถอะ
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : จับฉลากแบ่งกลุ่ม ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม ถุงผ้าบรรจุคำ
-นักเรียนนำคำที่ได้ในถุงผ้ามาเรียงต่อกันให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ที่สุด
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ จำแนก คำที่ได้ว่าเป็นคำซ้ำหรือคำซ้อนพร้อมนำเสนอ
วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า คำซ้ำและคำซ้อน เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคำซ้ำและคำซ้อน
-สรุปความรู้เรื่องคำซ้ำและคำซ้อนในรูปแบบ ชาร์ตข้อมูล พร้อมนำเสนอ
ชง : ครูให้นักเรียนเลือกคำซ้ำหรือคำซ้อนที่ตนเองชอบคนละ ๑ คำเพื่อนำมาเป็นหัวข้อในการเขียนเรียงความ
ใช้ : นักเรียนถ่ายทอดความเข้าใจผ่านเรียงความ
-นำเสนอผลงานและอภิปรายร่วมกัน
ภาระงาน
- การอ่านหนังสือลูกอีสาน ตอน เกวียนหัก
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละครที่ชอบในหนังสือลูกอีสาน ตอน เกวียนหัก
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร  แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การเลือกสี
- สรุปความเข้าใจในรูปแบบภาพสเกต
- การทำกิจกรรมถุงผ้าบรรจุคำ
- การนำคำมาเรียงต่อกันให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์
- การวิเคราะห์ จำแนก คำ
- การสืบค้นข้อมูลคำซ้ำและคำซ้อน และสรุปผ่านชาร์ตข้อมูล
- การเขียนเรียงความจากหัวข้อคำที่ตนเองเลือก
- การนำเสนอชิ้นงาน
- การอภิปรายร่วมกัน
ชิ้นงาน
- ภาพสเกต
- ชาร์ตข้อมูล
- เรียงความ


ความรู้ :  เข้าใจถึงวิถีชีวิตของคนอีสานในสมัยก่อน เห็นถึงความรัก ความสามัคคี และความพยายาม สามารถอธิบาย วิเคราะห์ คำประสม สามารถนำคำประสมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก

บันทึกหลังการเรียนรู้
สัปดาห์ที่ 7 พี่ๆ ม.2 ได้อ่านใคร่ครวญวรรณกรรม เรื่อง ลูกอีสาน ตอน เกวียนหัก ครูได้ตั้งคำถามกระตุ้นการคิด รู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากเรื่อง พี่บีท เห็นถึงความสามัคคีของคนอีสาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” ,พี่คอป การเป็นห่วงเป็นใยซึ่งกันและกัน ”,พี่ติ เห็นความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นได้สรุปความเข้าใจผ่านรูปแบบ วาดภาพสเกตขาวดำประกอบเรื่องพร้อมนำเสนอผลงานร่วมกัน ครูจับฉลากแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม จากนั้นให้ซองชุดคำ พร้อมอ่านโจทย์คำถามปริศนาคำทายที่เกี่ยวกับภาษาไทย แล้วให้พี่ๆต่อคำในซองที่บรรจุคำนั้นให้เป็นคำตอบพร้อมกับเขียนคำตอบใส่กระดาษ เห็นถึงความสามัคคีให้แต่ละกลุ่มรวมถึงความตั้งใจในการฟังโจทย์ปริศนาคำทายและช่วยกันวิเคราะห์คำตอบและช่วยกันต่อคำ หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมครูมีใบงานทบทวนความรู้เรื่อง คำซ้ำคำซ้อน ให้พี่ๆได้ทบทวน  ครูถามคำถามกระตุ้นการคิด คำซ้ำและคำซ้อนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?” พี่เพลงเหมือนที่ซ้ำคำเพื่อให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น ต่างกันตรงที่คำซ้ำจะมีไม้ยามก คำซ้อนไม่มีคำซ้อนจะมีคำที่มีความหมายคล้ายเหมือนเหมือนกันซึ่งเขียนต่างกันมาอยู่ใกล้ๆกันหรือติดกันทำให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น ต่อมาครูให้พี่ๆม.2 จับฉลากชื่อเรื่องเพื่อเป็นชื่อเรื่องในการเขียนเรียงความ โดยเรียงความเรื่องนั้นๆจะต้องมีคำซ้ำ คำซ้อน อย่างละ 10 คำ จากเรื่อง พร้อมกับขีดเส้นใต้คำที่เป็นคำซ้ำและคำซ้อนให้เรียบร้อยและนำเสนอร่วมกัน



ประมวลภาพกิจกรรม


ประชุมคณะครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา พร้อมรับฟังการนำเสนอวิจัย"ต้นเปราะ"

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทยชั้นม.1

การอยู่กับตัวเองก่อนที่จะทำกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทย

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทยชั้นม.2

การร่วมกิจกรรมเติมคำหน้าหลังให้เป็นประโยคเรื่องเรื่องราวจากคนละ1คำ

การนำเสอชิ้นงานของพี่ๆม.2

กิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย (กินวิบาก ภาษาวิบัติ) ของพี่ๆม.3

เรียนรู้ผ่านกิจกรรมเพื่อให้สนุกและเรียนรู้เข้าใจได้มากกว่า

การเขียนตามคำบอก ของพี่ๆม.3

การศึกษาข้อมูลเรื่องคำไทยแท้และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศในรูปแบบกิจกรรม จิ๊กซอว์

กิจกรรมพิธีชาของพี่ๆม.2

การใคร่ครวญอยู่กับตัวเองขณะดื่มช้า ขอบคุณเส้นทางของชา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น