Week1

บันทึกการเรียนรู้


      “การเรียนรู้เริ่มต้นจากการเปิดใจ”
      สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเปิด Quarter 1 จึงมีการปรับตัวหลายๆอย่างทั้งครูและนักเรียน สำหรับตัวครูแอมเองได้เรียนรู้วิถีของครูระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้เห็นถึงลำดับขั้นตอนของกระบวนการทำงาน ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน
     ได้เรียนรู้การเข้าเวรของคณะครู การพบปะผู้ปกครองที่มารับส่งบุตรหลาน การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง รวมถึงกิจกรรมประชุมครูระดับชั้นมัธยมศึกษาในวันพุธ โดยที่ครูแต่ละคนจะแชร์สิ่งที่ตนเองได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียนชั้นเรียนของตนเอง รวมถึงการเล่าถึงปัญหาที่พบเพื่อช่วยกันหาแนวทางแก้ไขต่อไป "สิ่งที่คณะครูมองเห็นว่าระดับชั้นมัธยมศึกษามีปัญหาการปรับตัวใหม่ การทบทวนวิถีใหม่ให้กับนักรียนเพราะอาจเด็กอาจปิดเทอมนานจึงทำให้ลืมวิถีที่ปฎิบัติร่วมกัน"
      กิจกรรมการสร้างชุมนุม นับว่าเป็นสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับตัวครูแอม ที่ให้นักเรียนเป็นผู้เลือกชุมนุมเอง เลือกในสิ่งที่แต่ละคนสนใจจริงๆ นับว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะเด็กจะได้ทำในสิ่งที่ตนเองรัก ซึ่งไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับ เพื่อที่เด็กจะสามารถพัฒนาความสามารถของตนเองให้ถึงขีดสุด และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
       และในสัปดาห์นี้ เป็นครั้งแรกที่ครูแอมได้เจอกับพี่วิวและพี่เนย ม.๑ ซึ่งมีความต้องการพิเศษ คือมีพัฒนาการช้ากว่าเพื่อน ในคาบภาษาไทย ครูแอมได้ไปช่วยครูภรในการกิจกรรมการเรียนรู้ในกับพี่ม.๑ และครูแอมก็ได้เห็นพัฒนาการของพี่วิวกับพี่เนย ว่าด้านหลักภาษายังต้องให้ความช่วยเหลือ และควรจัดโปรแกรมการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและด้านอื่นๆให้กับพี่วิวและพี่เนย เพื่อให้พี่วิวและพี่เนยมีพัฒนาการสมวัย มีศักยภาพมากที่สุด     


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ภาษาไทย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ Quarter 1 ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถคาดเดาเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นจากหนังสือลูกอีสาน สามารถอธิบายความหมาย ลักษณะ การใช้คำไทยแท้ และสามารถนำคำไทยแท้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

๑๖ ๒๐
..
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง : ลูกอีสาน ตอน หมู่บ้านเริ่มร้าง
หลักภาษา  :  คำไทยแท้
Key Questions :
นักเรียนคิดว่าในหนังสือเรื่องลูกอีสานน่าจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร
- นักเรียนมีความเข้าใจในวิชาภาษาไทยอย่างไรบ้าง?
- ดินดำน้ำชุ่ม หมายถึงอะไร?
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างจากการจัดหมวดหมู่คำ?”
เครื่องมือคิด :
- Show and Share 
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Flow Chart
การนำเสนอข้อมูลที่สืบค้นในรูปแบบชาร์ตภาพ
- Brainstorms
การระดมสมอง การออกแบบและจัดหมวดหมู่ลักษณะคำไทยแท้
-Mind mapping
สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาไทย (ก่อนเรียน)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
หนังสือลูกอีสาน
- บัตรคำ
วันพุธ
ชง  :   ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนมีความเข้าใจในวิชาภาษาไทยเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมเสนอความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาภาษาไทยที่ได้เรียนรู้ผ่านมาแล้ว ในรูปแบบ Mind Mapping
ชง : ครูให้นักเรียนดูปกหนังสือวรรณกรรมเรื่องลูกอีสาน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าในหนังสือเล่มนี้น่าจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร?”
เชื่อม :  นักเรียนแต่ละคนคิดจินตนาการคาดเดาเรื่องราวจากวรรณกรรม เรื่อง ลูกอีสานในรูปแบบ การ์ตูนช่อง
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอการ์ตูนช่องจากการคาดเดาเรื่องราวจากวรรณกรรมและอภิปรายร่วมกัน
วันพฤหัสบดี
ชง  : นักเรียนฟังแหล่อีสาน ฝนบ่มาปลาหนีน้ำ
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเนื้อหาจากแหล่อีสาน ฝนบ่มาปลาหนีน้ำ
ชง  : นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่อง(ภาพสื่อคำ)
-นักเรียนนำเสนอแผนภาพโครงเรื่องและอภิปรายร่วมกัน
วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า ดินดำน้ำชุ่ม หมายถึงอะไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม จัดหมวดหมู่คำที่ครูแจกให้
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างจากการจัดหมวดหมู่คำ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคำไทยแท้พร้อมนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ ชาร์ตรูปภาพ
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจเรื่องคำไทยแท้ในรูปแบบการ์ตูนช่อง
ภาระงาน
- การสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาภาษาไทยที่ได้เรียนรู้มาแล้ว ในรูปแบบ Mind Mapping
- การคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือ
-การเขียนการ์ตูนช่องจากการคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือ
-ฟังแหล่อีสาน ฝนบ่มาปลาหนีน้ำและอภิปรายร่วมกัน
- การอ่านหนังสือ ลูกอีสาน ตอน หมู่บ้านเริ่มร้าง
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร  แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การจัดหมวดหมู่คำไทยแท้
- การอภิปรายร่วมกัน
- การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคำไทยแท้พร้อมนำเสนอในรูแบบชาร์ตรูปภาพ
- สรุปความเข้าใจเรื่องคำไทยแท้ในรูปแบบการ์ตูนช่อง
ชิ้นงาน
- Mind Mapping สรุปความเข้าใจ
- การ์ตูนช่องจากการคาดเดาเรื่อง
- แผนภาพโครงเรื่อง(ภาพสื่อคำ)
- ชาร์ตรูปภาพคำไทยแท้
- การ์ตูนช่อง
ความรู้ : เข้าใจและสามารถคาดเดาเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นจากหนังสือลูกอีสานและสามารถอธิบายความหมาย ลักษณะ การใช้คำไทยแท้ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด





บันทึกหลังการเรียนรู้

          ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ม.๒ และคุณครูได้ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับหลักภาษาและวรรณกรรมที่ ได้เรียนผ่านมาแล้ว ในกิจกรรมทบทวนความรู้เดิม ครูให้พี่ๆ ม.๒ สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับหลักภาษาในรูปแบบ Mind Mapping ก่อนเรียน ซึ่งส่วนใหญ่พี่ๆมีความเข้าใจในเรื่อง คำราชาศัพท์ คำควบกล้ำ คำสุภาษิตและคำพังเพย ในกิจกรรมต่อมาเป็นการคาดเดาเรื่องราวจากปกของวรรณกรรม ลูกอีสาน โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?” พี่เพลง เห็นคนแก่กำลังเป่าใบไม้อยู่บนหลังควายพี่บีท เห็นเด็กผู้ชายกำลังเลี้ยงควาย พี่ติ เห็นหมากำลังเห่าจากนั้นคุณครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่ออีกว่า นักเรียนคิดว่าในหนังสือเล่มนี้น่าจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร?” พี่ออสติน  ความเป็นอยู่ของคนอีสานพี่คอป  วิถีชีวิตของคนอีสานพี่อังอัง เกี่ยวกับชีวิตเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในภาคอีสาน จากนั้นคุณครูได้ให้พี่ๆม.๒ ลองจิตนาการคาดเดาเรื่องว่าภายในเรื่อง ลูกอีสาน มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ในรูปแบบการ์ตูนช่อง 

ประมวลภาพกิจกรรม
เรียนรู้การทำกิจกรรมจิตศึกษา เริ่มต้นวันอย่างมีความหมาย
เรียนรู้การทำกิจกรรม PBL คู่ขนาน ระบบนิเวศพืชผัก ๑ ตารางเมตร ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
เรียนรู้การสร้างชุมนุมโดยนักเรียนร่วมกันตั้งชุมนุมตามความสนใจของนักเรียนเอง
นักเรียนปรึกษาหารือ แบ่งหน้าที่ และเขียน Timelineกิจกรรมตลอด 10 Week




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น